
คณะกรรมการบริหารสมาคมประกันวินาศภัยไทย ประจำปี 2568-2570 ภายใต้การบริหารของ “ดร.สมพร สืบถวิลกุล” ผู้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย ต่อเนื่องเป็นสมัยที่ 2 และมีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี ประกาศแผนยุทธศาสตร์พัฒนาอุตสาหกรรมประกันวินาศภัยไทย มุ่งขับเคลื่อนธุรกิจประกันวินาศภัยให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี โดยเน้นการยกระดับศักยภาพของอุตสาหกรรมในทุกมิติ เดินหน้าผนึกแผนการทำงานร่วมกับคณะกรรมการประกันภัยสาขาต่าง ๆ เพื่อผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม

ดร.สมพร สืบถวิลกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า ตามที่สมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ชุดใหม่ ประจำปี 2568-2570 และเลือกตั้งผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ พร้อมทั้งแต่งตั้งที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ได้ร่วมกันกำหนดกรอบและทิศทางสำหรับยุทธศาสตร์สมาคมฯ
โดยยังคงมีเป้าหมายในการเป็นองค์กรที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ธุรกิจประกันวินาศภัยเป็นเสาหลักของระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน ยึดนโยบายในการทำหน้าที่เป็นผู้บริหารความเสี่ยงมืออาชีพให้กับภาครัฐ และภาคเอกชน เน้นความเป็นมืออาชีพ สร้างมาตรฐานการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใส ควบคู่ไปกับการช่วยเหลือสังคมในมิติต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจประกันวินาศภัยไทยไปสู่การเติบโตอย่างอย่างมั่นคง และเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและสังคม โดยสอดรับกับแผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2568-2573) ของสำนักงาน คปภ. ซึ่งมุ่งเน้นพันธกิจหลักที่สำคัญ 4 ด้าน ได้แก่

พันธกิจที่ 1: เสริมสร้างความเชื่อมั่น และยกระดับขีดความสามารถของธุรกิจประกันวินาศภัย รวมถึงส่งเสริมการดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม พัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลความรู้ด้านประกันภัย เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนและสังคม ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการสื่อสารเชิงรุกผ่าน Digital Technology เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลประกันภัยอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสร้างมาตรฐานการให้บริการของภาคธุรกิจ เพื่อยกระดับและความไว้วางใจในระบบประกันภัย พร้อมเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันด้วยนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ประกันภัย และการตลาดเชิงรุก ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (ESG) เพื่อสร้างคุณค่าร่วมและผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

พันธกิจที่ 2: ส่งเสริม และสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยี พร้อมเสริมสร้างบทบาทในฐานะผู้บริหารความเสี่ยงมืออาชีพให้กับภาครัฐและเอกชน ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น InsurTech และ Big Data มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงในทุกมิติ รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ที่ตอบสนองต่อความเสี่ยงอุบัติใหม่ เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความเสี่ยงทางไซเบอร์ และความท้าทายในเศรษฐกิจดิจิทัล ตลอดจนพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชนในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ยังเน้นการส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการพัฒนานวัตกรรมในด้านประกันวินาศภัย เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งผลักดันให้ภาครัฐบูรณาการการประกันภัยเข้าไว้ในแผนยุทธศาสตร์ของชาติ เพื่อใช้ในการบริหารความเสี่ยงทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ
พันธกิจที่ 3: ผลักดันนโยบาย กฎระเบียบ และโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจประกันวินาศภัย การทบทวนและผลักดันการปรับปรุงกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ (Regulatory Guillotine) พร้อมทั้งเสนอการออกกฎระเบียบใหม่ที่เอื้อต่อการเติบโตและการขยายตัวของธุรกิจประกันวินาศภัย นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการจัดตั้ง Regulatory Sandbox ที่สนับสนุนการทดลองและพัฒนานวัตกรรมด้านประกันภัยอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการปรับปรุงหลักเกณฑ์ด้านการลงทุนของบริษัทประกันภัยให้มีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ รวมถึงการส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถขยายไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างมั่นคง และสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลของอุตสาหกรรม เช่น ระบบฐานข้อมูลกลาง (Centralized Data System) เพื่อยกระดับศักยภาพในการวิเคราะห์ข้อมูล และการกำกับดูแลที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
พันธกิจที่ 4: เสริมสร้างระบบนิเวศประกันภัยที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคงและมีเสถียรภาพ ส่งเสริมการสร้างและพัฒนาบุคลากรเข้าสู่ธุรกิจประกันวินาศภัย โดยเน้นการยกระดับมาตรฐานความรู้ของบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศ เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งพัฒนาความร่วม